เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัสสนะ และกังขาวิตรณะมีอรรถ
ต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัสสนะ และกังขาวิตรณะมีอรรถ
อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อะไรปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ อะไรปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา อะไรปรากฏโดยความเป็นภัย
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง นิมิตปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเป็นไปปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดย
ความเป็นอนัตตา นิมิตและความเป็นไปปรากฏโดยความเป็นภัย
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัย อาทีนว-
ญาณ และนิพพิทามีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัย อาทีนว-
ญาณ และนิพพิทามีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสสนาและสุญญตานุปัสสนามีอรรถต่างกันและ
มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสสนาและสุญญตานุปัสสนามีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณคือการพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ญาณคือการพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณคือการพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณคือการพิจารณานิมิตย่อม
เกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ญาณคือการพิจารณาความเป็นไปย่อม
เกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณคือการพิจารณานิมิตและความ
เป็นไปย่อมเกิดขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :383 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ
สังขารุเปกขาญาณมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ
สังขารุเปกขาญาณมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตออกจากอะไร แล่นไปในที่ไหน
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตออกจากอะไร แล่นไปในที่ไหน เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นอนัตตา จิตออกจากอะไร แล่นไปในที่ไหน
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตออกจากนิมิต แล่นไปใน
นิพพานซึ่งไม่มีนิมิต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตออกจากความเป็นไป
แล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเป็นไป เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา จิตออก
จากนิมิตและความเป็นไป แล่นไปในนิพพานธาตุซึ่งเป็นความดับ ซึ่งไม่มีนิมิตและ
ความเป็นไป
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอกและโคตรภู-
ธรรมมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่
พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอกและโคตรภู-
ธรรม มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมหลุดพ้นด้วยวิโมกข์อะไร ผู้มนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ย่อมหลุดพ้นด้วยวิโมกข์อะไร ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมหลุดพ้นด้วยวิโมกข์อะไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง ย่อมหลุดพ้นด้วยอนิมิตตวิโมกข์ ผู้
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมหลุดพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความ
เป็นอนัตตาย่อมหลุดพ้นด้วยสุญญตวิโมกข์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :384 }